น้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันสามารถนำกลับใช้ใหม่ได้หรือไม่ ?

 

น้ำยาล้างชิ้นงานสามารถนำกลับใช้ใหม่ได้หรือไม่ ?

    หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลของน้ำยาล้างชิ้นงานว่ามีกี่ประเภทในเบื้องต้นแล้วนั้นที่เกี่ยวข้องกันกับกระบวนการผลิต และมีหลายท่านสงสัยกันว่าน้ำยาประเภทนี้สามารถนำกลับไปใช้ได้หรือไม่ วิเคราะห์ได้จากข้อมูลใดได้บ้าง ทางเราจะข้อแนะนำดังต่อไปนี้

• จุดกลั่นเริ่มต้น (Initial Boiling Point)  คือ จุดอุณหภูมิแรกที่น้ำยาล้างชิ้นงานเดือดกลายเป็นไอ และกลั่นตัวเป็นน้ำยาหยดแรก
• จุดกลั่นสุดท้าย (End Boiling Point)   คือ จุดอุณหภูมิสุดท้ายที่น้ำยากลั่นสิ้นสุด
• ความดันสถานะไอ (Vapor State)         คือ ความดันที่มีความสามารถทำให้น้ำยาเปลี่ยนสถานะเป็นไอจากของเหลว

     สถานะไอเป็นสภาวะที่เปลี่ยนเป็นแก๊สจากเหลวหรือจากของแข็งเป็นสภาวะแก๊ส โดยใช้อุณหภูมิวิกฤต“Critical Temperature”  ของน้ำยาล้างชิ้นงาน  ยกตัวอย่างเช่น น้ำ ทีอุณหภูมิวิกฤตคือ 374 oC  (647 K) เป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของของเหลวที่จะมีความสามารถระเหยออกจากสภาวะนั้นๆ ดังนั้น ถ้าสถานะไอของสารเคมี ประกอบด้วยของเหลวและของแข็งทั้ง 2 สภาวะ เรียกว่า จุดสมดล “Equilibrium”  ตามรูปด้านล่าง

     Figure_14_05_05

      ดังนั้น ทางเราที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการกลั่นได้นั้น ต้องใช้ความดันที่อยู่สถานะที่เป็นไอ “ความดันไอ”

ความดันไอ (Vapor Pressure)

ความดันไอเป็นความดันที่สมดุลระหว่างของเหลวหรือของแข็ง ที่มีอุณหภูมิคงที่ และจุดเดือด โดยทั่วไปนั้นคืออุณหภูมิที่ความดันไอของน้ำยาล้างคราบขจัดน้ำมันเท่ากับความดันบรรยากาศ 1 บรรยากาศ และทางเรายังสามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ สำหรับ 2 สารที่ผสมกันนั้น โดยแบ่งแยกด้วยความดันไอของสารนั้นๆ โดยใช้ทฤษฎีของราอูล “Raoult’s Law”

434157-f2ba0f3cc366e2b474eaf248cc86c505                                       รูปภาพแสดงหลักการของการระเหยเป็นไอและการควบแน่นของน้ำยาล้างชิ้นงาน

Benztol_phase_calc_example

รูปตัวอย่างกราฟแสดงความดันไอของความสัมพันธ์ระหว่างโทลูอีนกับเบนซีน

       เราสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันนั้นเพื่อวิเคราะห์ภาพแสดงหลักการของการระเหยเป็นไอและการควบแน่นของน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันคุณสมบัติทางเคมี ไปลงในทฤษฎีเทอรโมไดนามิค คือ “Vacuum Distillation” การกลั่นแบบสุญญากาศ โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างความดันและอุณหภูมิตามหลักการ เพื่อนำความเป็นไอของสารผสมออกมาสถานะความเป็นไอ

vacuum distillation concept

หลักการกลั่นของน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมัน

 การกลั่น

ห้องปฏิบัติการของการกลั่น

            เบื้องต้นในทางอุตสาหกรรมนั้น การที่ลูกค้าจะกลั่นน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันมาใช้เองต้องมีความรู้ความสามารถเบื้องต้นในจะกลั่นนำมาใช้เองพอสมควร หลังจากนั้นทางบริษัท ได้ทำการพัฒนาร่วมกับผู้ผลิตเครื่องกลั่นและผู้ผลิตน้ำยาโดยใช้หลักการข้างต้นเป็นเครื่องกลั่นภายใต้สุญญากาศ

 

เครื่องกลั่น

เครื่องกลั่นที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยา

                     หลังจากนั้น เมื่อเราได้กลั่นออกมาแล้วนั้น ทางเราได้วิเคราะห์ทางเคมีของน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมัน เพื่อสังเคราะห์หาความเหมือนที่เทียบกับน้ำยาใหม่  โดยใช้เครื่องอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (Infrared Spectroscopy) ที่เครื่องวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของสารตัวอย่างนั้นๆ พิจารณาจากพลังงานที่ดูดกลืน (Absorption) และพลังงานที่ปล่อยออกมา (Transmission) เพื่อใช้ในการสั่น (Vibration) ของโมเลกุลในรูปแบบต่าง ๆ

Concept IR

หลักการของเครื่องอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี

เครื่องIR

          หลังจากนั้นเครื่องมือวิเคราะห์จะแสดงผลเป็นกราฟความยาวคลื่นที่มีการสั่นสะเทือน และปล่อยพลังงานออกมาดังตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาหมู่ฟังก์ชันของน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันตัวอย่าง ด้านล่าง

tmp17058_thumb1

กราฟมาตรฐานของเครื่องอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี

IRFTexp4

การวิเคราะห์สารตัวอย่างด้วยเครื่องอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี

 

จากข้อมูลกราฟด้านบน เราสามารถวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันตามตารางมาตรฐานดังนี้

Table_2

        โดยสรุปเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้ว ทางเราสามารถกลั่นน้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันมาใช้ได้ ด้วยเครื่องกลั่นที่สอดคล้องกับจุดเดือดและจุดกลั่นของน้ำยานั้นๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์หาได้ว่าสารตัวอย่างที่กลั่นออกมานั้นมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับน้ำยาใหม่หรือไม่ ด้วยเครื่องวิเคราะห์เคมีอินฟราเรด สเปกโทรสโกปี  (Infrared Spectroscopy) หลังจากนั้นเรายังสามารถวิเคราะห์น้ำยาตามคุณสมบัติพื้นอีกด้วย

การสงวนสิทธิ์

รายละเอียดข้างต้นได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยบริษัทได้แนะนำเสนอข้อดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

4 Replies to “น้ำยาล้างชิ้นงานขจัดคราบน้ำมันสามารถนำกลับใช้ใหม่ได้หรือไม่ ?”

  1. น้ำยาล้างชิ้นงาน มีประเภทไหนบ้างครับ ?
    ราคา 20 ลิตร และ 200 ลิตรเท่าไหร่ครับ?
    ถ้าปริมาณ 20 ถังมีส่วนลดมั้ยครับ ?

    1. ถึงคุณประมวล

      น้ำยาล้างชิ้นงานมีหลายประเภทครับ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน วัสดุในการผลิต กระบวนการ ระยะเวลาการผลิต สามารถติดต่อฝ่ายขายได้เลยครับ

  2. สอบถามเกี่ยวน้ำยาล้างชิ้นงานหน่อยครับ สามารถกลั่นกลับมาได้หรือไม่ครับ ดูจากอุณหภูมิอะไรเหรอครับ

    1. ครับคุณทรงสิทธิ์ น้ำยาล้างชิ้นงานสามารถกลั่นกลับได้ครับ โดยดูจากจุดเริ่มต้นการกลั่น IBP และจุดสุดท้ายการกลั่น EP อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียสครับ ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อฝ่ายขายได้ครับผม ขอบคุณครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *