ทำความเข้าใจมาตรฐาน ASTM ใน 5 นาที เกี่ยวข้องกับน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันได้อย่างไร ?

มาตรฐานสากลที่ต้องรู้

เบื้องต้นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ASTM ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสากล เพื่อทดสอบและวัสดุของอเมริกา (American Society for Testing And Materials) ก่อตั้งขึ้นในปี 1898 จากกลุ่มวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 30,000 จาก 100 กว่า ประเทศทั่วโลก ซึ่งให้มาตรฐานในเรื่อง วัสดุ, สินค้า, ระบบและการบริการ ที่เชื่อถือได้สำหรับใช้ในการวิจัยและพัฒนา ทดสอบผลิตภัณฑ์ คุณภาพของระบบ เพื่อนำใช้กำหนดของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันถือได้ว่าเป็นสมาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในด้านของระบบ การพัฒนามาตรฐาน ที่ใช้โดยความสมัครใจ  โดยมติของกรรมการวิชาการเฉพาะสาขาวิชาต่างๆ ถึง 132 คณะ และมีการจัดพิมพ์มาตรฐานมากกว่า 9,800 เรื่อง ในแต่ละปี โดยมีสมาชิกที่ทรงคุณวุฒิ ทางวิชาการถึง 35,000 คน ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งองค์การที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทำให้เชื่อได้ว่ารอบคลุมวิชาการต่างๆ มากมายและมีความละเอียด ลึกซึ้ง นอกจากนี้ มาตรฐาน ยังได้รับการพิจารณา ทบทวนปรับปรุง และแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้คุณภาพของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันก่อผลประโยชน์สูงสุดในการใช้งานตามลักษณะงานนั้นๆ มาตรฐานที่ผ่านการรับรองของสมาคมฯ และประกาศใช้เป็นมาตรฐาน น้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันสามารถแบ่งตามเนื้อหา ออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  1. Classification เป็นมาตรฐานของ ระบบการจัดการ และการจัดแบ่ง วัสดุผลิตภัณฑ์ การบริการ ระบบ หรือการใช้งาน ออกเป็นกลุ่มๆ โดยอาศัยคุณลักษณะ ที่เหมือนกัน เช่น แหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ คุณสมบัติหรือประโยชน์ใช้สอย
  2. Specification เป็นข้อกำหนดที่ระบุแน่นอน ถึงคุณลักษณะ และสมบัติต่างๆ ที่ต้องการของวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบหรือการใช้งาน ข้อกำหนดเหล่านี้ มักจะแสดงค่าเป็นตัวเลข และมีข้อจำกัดกำหนดไว้ พร้อมทั้งวิธีหาค่าเหล่านั้นด้วย
  3. Terminology เป็นเอกสารมาตรฐาน ที่กำหนดคำนิยาม คุณลักษณะ คำอธิบายของศัพท์ต่างๆ เครื่องหมาย ตัวย่อ คำย่อที่ใช้ในมาตรฐานต่างๆ
  4. Test method เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับกรรมวิธี ที่กำหนดให้ใช้ในการตรวจสอบ พิสูจน์วัด และปริมาณคุณภาพ คุณลักษณะ คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างของวัสดุ ระบบหรือ การใช้งาน ซึ่งมีผลการทดสอบ ที่สามารถนำไปใช้ ในการประเมินค่าตามข้อกำหนด
  5. Guide เป็นคำแนะนำ หรือทางเลือก ให้ผู้ใช้เลือกใช้เทคนิคต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสิ่ง ที่จะได้จากการประเมิน และการมาตรฐานที่ใช้นั้นๆ ด้วย
  6. Practice เป็นวิธีการปฏิบัติเฉพาะ สำหรับงานเฉพาะอย่าง ได้แก่ การเขียนรายงาน การสุ่มตัวอย่าง ความแม่นยำ ความละเอียด การเลือก การเตรียม การประยุกต์ การตรวจสอบ ข้อควรระวังในการใช้ การกำจัดทิ้ง การติดตั้ง การบำรุงรักษา ตลอดจนการใช้เครื่องมือทดสอบ

นอกจากนี้มีการจัดแบ่งมาตรฐานออกเป็นกลุ่มๆ เฉพาะเรื่อง โดยใช้ตัวอักษร เป็นสัญลักษณ์แทนกลุ่มของเนื้อเรื่องเรียงตามลำดับที่เกี่ยวข้องกับน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันดังต่อไปนี้

A : Ferrous Metals

B : Nonferrous Metals

C : Cementations, Ceramic, Concrete, and Masonry Materials

D : Miscellaneous Materials

E : Miscellaneous Subjects

F : Materials for Specific Applications

G : Corrosion, Deterioration, and Degradation of Materials

มาตรฐาน ASTM จัดพิมพ์รวมเล่มเป็นชุดประจำปี ใช้ชื่อว่า Annual book of ASTM standards มาตรฐานที่พิมพ์รวมเล่มนี้ ต้องผ่านการรับรองของสมาคมฯ มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เมื่อใช้ไปครบทุก 5 ปี จะได้รับการพิจารณาทบทวนจาก คณะกรรมการวิชาการ ซึ่งอาจมี การปรับปรุงใหม่ มาตรฐานที่นำมาพิมพ์ ในแต่ละปี จึงมีทั้งเรื่องที่พิมพ์ซ้ำ รวมทั้งเรื่องใหม่ และเรื่องที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งมีประมาณร้อยละ 30 ของเรื่องทั้งหมดในแต่ละเล่ม ผู้ใช้สามารถ ทราบว่า มาตรฐานนั้นๆ เป็นเรื่องเดิม หรือปรับปรุงใหม่ ได้จากปีที่กำกับอยู่ ท้ายรหัสตัวอักษร ที่ ASTM กำหนดให้ใช้ สำหรับมาตรฐานแต่ละเรื่อง การจัดพิมพ์รวมเล่ม เอกสารมาตรฐาน ASTM นี้ จะรวมเรื่อง ประเภทเดียวกัน ไว้ในเล่มเดียวกัน และมีการพัฒนา จัดแบ่งเล่มใหม่อยู่เสมอ และในระหว่างปี ค.ศ. 1974-1982 Annual book of ASTM standards มี 47 เล่ม และเล่มที่ 48 เป็นดรรชนีรวม เอกสารมาตรฐาน ASTM และในปี ค.ศ. 1983 ได้ปรับปรุงรูปเล่มขึ้นใหม่ จำนวน 66 เล่ม โดยจัดเรื่องเป็นกลุ่มๆ รวม 16 กลุ่มดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ในการเป็นข้อมูลของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

 

  1.  Iron and Steel Products
  2.  Nonferrous Metal Products
  3.  Metals Test Methods and Analytical Procedures
  4. Construction
  5. Petroleum Products, Lubricants and Fossil Fuels (กลุ่มนี้จัดในกลุ่มของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน)
  6. Paints, Related Coatings, and Aromatics
  7. Textiles
  8. Plastics
  9. Rubber
  10. Electrical Insulation and Electronics
  11. Water and Environmental Technology
  12. Nuclear, Solar, and Geothermal Energy
  13. Medical Devices
  14. General Methods and Instrumentation
  15. General Products, Chemical Specialties, and End Use Products
  16.  Index

 

มาตรฐาน ASTM ถูกใช้ควบคุมในการผลิตภัณฑ์ ในน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันดังนี้

  • สี                                    ASTM D-1500
  • ค่าถ่วงจำเพาะ               ASTM D-4052
  • ค่าความหนืด                 ASTM D-445
  • จุดวาบไฟ                      ASTM D-93
  • จุดอะนิลีน                      ASTM D-611
  • การกัดกร่อนทองแดง   ASTM D-130
  • การกลั่นตัว                   ASTM D-86

เครื่องวิเคราะห์ค่าความหนืดรูปเครื่องมือวิเคราะห์ค่าความหนืดของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน 

มีขั้นตอนดังนี้คือ

  • ตั้งอุณหภูมิของเครื่องวิเคราะห์ที่ 40 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส รอให้อุณหภูมินิ่งสักครู่ 10 นาที
  • จากนั้นใส่น้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันลงในหลอดในเครื่องวิเคราะห์ค่าความหนืด
  • จับเวลาจุดเริ่มต้นที่น้ำยาไหลลงจุดสุดท้ายจะได้เวลาหนึ่ง
  • นำเวลานั้นไปวิเคราะห์หาค่าความหนืดจากเวลามาตรฐานของเครื่องค่าความหนืดนั้น ๆ

 

เครื่องวิเคราะห์จุดวาบไฟ

รูปเครื่องมือวิเคราะห์ค่าความจุดวาบไฟของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน 

 

มีขั้นตอนดังนี้คือ

  • ใส่สารตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์เป็นกราฟมาตรฐานที่จะกำหนดขึ้น
  • ใส่น้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันลงในอุปกรณ์วิเคราะห์ จากนั้นเครื่องมือจะเริ่มเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจุดไฟให้เกิดประกายไฟ โดยเครื่องมือจะจดจำอุณหภูมิสูงสุดที่ไฟลุกติดและดับเองภายใน 5 วินาที
  • จากนั้นจะได้อุณหภูมิของจุดวาบไฟของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

 

รูปวิเคราะห์ค่าการกัดกร่อนทองแดงของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน 

แถบสีการวิเคราะห์การกัดกร่อนทองแดง

มีขั้นตอนดังนี้คือ

  • ทำความสะอาดแผ่นทองแดงโดยใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียด
  • นำแผ่นทองแดงจุ่มน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันที่เราเตรียมไป
  • เมื่อครบเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วเทียบกับสีของทองแดงที่เปลี่ยนไป
  • วิเคราะห์ตัวเลขที่อ่านได้ จากสีที่เปลี่ยนไป

 

 

 

เครื่องวิเคราะห์การกลั่น

รูปวิเคราะห์ค่าการกลั่นของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน 

มีขั้นตอนดังนี้คือ

  • ใส่สารเคมีมาตรฐานเพื่อวิเคราะห์การกลั่นแล้วตั้งค่ามาตรฐาน
  • ใส่น้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันที่ต้องการในเครื่องวิเคราะห์
  • เครื่องวิเคราะห์จะประมวลผลค่าอุณหภูมิที่กลั่นได้เริ่มแล้ว (IBP =Initial Boiling Point) และอุณหภูมิสุดท้ายที่กลั่นได้ (EP = End Point) แล้ววิเคราะห์ค่าที่ได้จากน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

 

 

 

 

การวิเคราะห์ว่าน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันนั้นคุณสมบัติดีหรือคุณสมบัติไม่ดี ?

  • ค่าความหนืด คือ ถ้ามีค่ามากเกินไปน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันจะมีลักษณะที่เหนียวและหนืด
  • ค่าจุดวาบไฟ คือ ถ้าน้อยไปโอกาสที่น้ำยาจะติดไฟลุกไหม้ได้ง่าย
  • การกัดกร่อนทองแดง คือ ต้องมีค่าน้อยที่สุด เพื่อโอกาสน้ำยาจะกัดกร่อนชิ้นงานจะไม่ทำลายผิวโลหะ
  • การกลั่นตัว คือ เป็นความสามารถในการกลั่นของน้ำยาแต่ละชนิด และคุณภาพของเครื่องจักร

 

คำถามน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันยังสามารถใช้ได้อีกหรือไม่ วิเคราะห์ได้อย่างไร ?

เมื่อทางลูกค้าได้ใช้น้ำยาได้ระยะเวลาหนึ่งในการผลิตนั้นๆ ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ หรือหยุดการผลิตได้ โดยทั่วไปน้ำยา จะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน นับจากการเริ่มเปิดใช้งาน และผู้ใช้งานอาจจะไม่แน่ใจในคุณภาพของน้ำยา ทางเราขอแนะนำให้เก็บตัวอย่างน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันไว้ เพื่อที่จะให้ทางเราส่งเข้าห้องปฏิบัติการ โดยวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีโดยเทียบกับช่วงมาตรฐานของเรา ดังนี้

  • วิเคราะห์ค่าความหนืด เพื่อวิเคราะห์ว่าน้ำยาล้างมีความหนืดเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • วิเคราะห์ค่าความเป็นกรดและด่าง เพื่อวิเคราะห์ว่าน้ำยาล้างมีโอกาสการกัดกร่อนหรือไม่
  • วิเคราะห์ค่าจุดวาบไฟ เพื่อวิเคราะห์ว่าน้ำยาล้างนั้นมีจุดวาบไฟลดลงหรือไม่ มีโอกาสที่จะติดไฟหรือไม่
  • วิเคราะห์ค่าน้ำในน้ำมัน เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนจากน้ำ และสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเครื่องจักรมีน้ำปนหรือไม่ ส่งผลต่อน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันหรือไม่

 

 

  Test Result - SIAM NANO

   ตัวอย่างการวิเคราะคุณสมบัติทางเคมี

การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีดังนี้

โดยลูกค้าสามารถเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการทดสอบเพื่อที่จะวิเคราะห์ระยะเวลาการเสื่อมคุณภาพของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน และทางเราให้คำแนะนำและปรึกษาเพื่อยืดอายุของคุณภาพต่อไป

ปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมคุณภาพของน้ำยา

  1. อุณหภูมิการใช้งานของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน เพราะเมื่อน้ำยาได้รับอุณหภูมิที่สูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันนั้นจะเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่โมเลกุลหรืออะตอมมีการสูญเสียอิเล็กตรอนจากวงโคจรให้กับโมเลกุลที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน ปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน (reduction) จะเกิดคู่กัน สารที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน เรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (reducing agent) และเรียกสารที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนนี้ว่า ตัวออกซิไดส์ (oxidizing agent) โดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน มักจะเกี่ยวข้องกับออกซิเจน นอกจากนี้ออกซิเดชันยังหมายถึงการเสียไฮโดรเจนอะตอมออกจากโมเลกุลอีกด้วย ปฏิกิริยาออกซิเดชันและอนุมูลอิสระนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากปฏิกิริยานี้ทำให้เกิดอนุมูลอิสระของสารต่างๆ ได้มากมายหลายชนิด และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับสารอื่นๆ เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไป อะตอมที่ทำหน้าที่เป็น reducing agent ได้ดี เป็นอะตอมที่มีขนาดใหญ่ จึงมีระยะห่างระหว่าง นิวเคลียส กับอิเล็กตรอนวงนอกสุดมาก จึงมีแรงดึงดูดอิเล็กตรอน (electronegativity) ต่ำ ทำให้สูญเสียอิเล็กตรอนง่ายสังเกตจากสีของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน   C2xHx + O2 ——> CO2 + H2O

ดังนั้น ปฏิกิริยาออกซิเดชันนั้น พบว่ามีการเกิด CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ และ H2O น้ำ ส่งผลให้น้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันเสื่อมคุณภาพได้ง่าย   และไม่สามารถล้างชิ้นงานได้น้อยลง อายุการใช้งานก็จะสั้นลง

  1. ค่าความเป็นกรดด่าง คือ ค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดคือทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี สำหรับตัวเลขที่แสดงค่าพีเอช ถ้าพิจารณาอย่างง่ายที่อุณหภูมิห้อง ค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารนั้นเป็นกลางไม่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบส เช่น น้ำบริสุทธิ์ ถ้ามีค่าน้อยกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด และถ้ามากกว่า 7 แสดงว่าเป็นเบส  จะเกิดขึ้นได้จากกระบวนการด้านหน้า ก่อนจะมาถึงกระบวนการล้างชิ้นงาน ส่งผลให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันได้อีกด้วย

pH  = -log[H+]

โดยที่ [H+] คือ ความเข้มข้นของไฮโดรเนียอิออนหน่วยโมลต่อลิตร

  1. น้ำปนในน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน ส่งผลให้ความสามารถในการชะล้างลดลง

 

ความรู้เบื้องต้นในการพิจารณาคุณภาพน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันที่ใช้แล้ว

วิเคราะห์ทางกายภาพโดยสังเกตเห็นด้วยตา ดังต่อไปนี้

  • สี  พิจารณาจากน้ำยาที่เปลี่ยนสภาพไปเทียบกับสีตัวอย่างตามรูปของข้างล่าง เนื่องด้วยสาเหตุของความร้อน แสง หรือ เครื่องจักรนั้นๆ  ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ง่ายขึ้น อาจมีปัจจัยภายในอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบ
  • น้ำ พิจารณาโดยใช้เทียบสีดำไว้ด้านหลังของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน แล้ววิเคราะห์ดูว่าสามารถมาส่องเห็นจากด้านหน้าหรือไม่

 

วิเคราะห์น้ำและสี

การบำรุงรักษาน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

  1. ตรวจเช็คระดับน้ำยาทุกวัน
  2. ตรวจเช็คความเข้มของสีน้ำยา สีผิดปกติแสดงว่าเกิดการปนเปื้อน
  3. รักษาอุณหภูมิน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันไม่ให้สูงเกิน 60◦C
  4. น้ำยาที่หมดสภาพการใช้งานควรทำการเปลี่ยนถ่ายก่อนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
  1. สร้างมาตรฐานการตรวจเช็คคุณภาพน้ำยาอย่างน้อยทุก 3 เดือน
  2. สังเกตและบันทึก หากเกิดเสียงดังหรืออาการสั่นผิดปกติ
  3. ระวังอย่าเติมน้ำมันผิดรายการ
  4. ตรวจเช็คสินค้าคงคลังให้เพียงพอ

 

การจัดเก็บน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน

  • รวบรวมรายชื่อน้ำยาทั้งหมดที่ใช้อยู่
  • รวบรวมรายชื่อเครื่องจักรทั้งหมด
  • จัดรวมน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันที่สามารถใช้แทนกันได้ให้เหลือน้อย ชนิดที่สุดเท่าที่จะทำได้  (วางแผนร่วมกับวิศวกรฝ่ายเทคนิค)
  • จัดประเภทเครื่องจักรเป็นกลุ่ม ๆ
  • จัดทำตารางการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมัน
  • ตรวจเช็คคุณภาพน้ำยาเป็นระยะ ๆ     อาจจะดูสี, ความใส, กลิ่น และอุณหภูมิการใช้งาน ว่าผิดปรกติหรือไม่  (เก็บตัวอย่างให้บริษัทฯ ผู้ขายตรวจสอบ)
  • จัดเก็บสำรองให้เพียงพอ
  • เก็บในที่สะอาด ปลอดภัยและระบายอากาศได้ดีพอสมควร
  •  จัดเก็บในที่ร่ม
  • ใส่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด และไม่ปนกัน
  • ปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังเปิดใช้   เพื่อป้องกันฝุ่น และน้ำปนเปื้อน
  • ถ้าต้องการจัดเก็บกลางแจ้งให้วางถังในแนวนอน โดยวางไม้กระดานบนพื้นและระหว่างแถว   โดยให้ฝาทั้งสองอยู่ในแนวนอนขนานกับพื้น เพราะความดันของน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันในถังเหนือฝา จะช่วยดันไม่ให้อากาศภายนอกและสิ่งสกปรกเข้าไปได้ เนื่องจากการวางถังในแนวตั้ง     โดยไม่มีสิ่งปกคลุม ถึงแม้ว่าจะปิดสนิทเท่าไรก็ตามในเวลากลางวันความร้อนจากแสงแดดจะทำให้อากาศในถังขยายตัวหนีออกไป และเมื่ออากาศเย็นลง  ในเวลากลางคืน อากาศในถังก็จะหดตัวดึงน้ำ    และสิ่งสกปรกกลับคืนเข้าไปในถังได้
  • ถ้าจำเป็นต้องวางถังในแนวตั้งให้ใช้ไม้กระดานหนุนข้างหนึ่ง เพื่อให้ถังตะแคงไม่ให้น้ำขังบนฝา   โดยให้ฝาถังทั้งสองอยู่ในแนวขนานกับไม้กระดาน

 

การสงวนสิทธิ์

รายละเอียดข้างต้นได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยบริษัทได้แนะนำเสนอข้อดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

4 Replies to “ทำความเข้าใจมาตรฐาน ASTM ใน 5 นาที เกี่ยวข้องกับน้ำยาล้างขจัดคราบน้ำมันได้อย่างไร ?”

  1. มีบริการหลังจากซื้อด้วยเหรอครับ ? ดีมากๆเลยครับ เรากำลังหาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้พอดีครับ

    1. ถึงคุณสุชาติ

      ขอบพระคุณมากครับ ทางเรามีการวิจัยและพัฒนาทั้งด้านเคมี และเครื่องจักร สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายขาย

      ขอบคุณมากครับ

  2. มีค่าบริการตรวจเช็คคุณภาพน้ำมันหรือเปล่าครับ

    1. ถึงคุณสมชาย

      ถ้าใช้น้ำยาของเราไม่มีค่าบริการตรวจเช็คคุณภาพน้ำมันครับผม

      สามารถติดต่อฝ่ายขายได้เลยครับ ขอบคุณครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *